แนวทางการแก้ไข อาการขาดธาตุอาหารพืช

 


🧑‍🌾อาการผิดปกติของพืชจากการขาดธาตุอาหาร มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และมีผลไม่มากก็น้อยต่อผลผลิตหรือคุณภาพของพืช
✅1. การปรับปรุงดิน : อาการผิดปกติของพืชอาจแก้ได้โดยการจัดการดิน การปรับปรุงดินบางวิธีที่ไม่ใช่เป็นการใส่ปุ๋ยหรือให้ธาตุอาหารพืชโดยตรงก็สามารถแก้ไขหรือลดอาการผิดปกติอันเนื่องมาจากการขาดธาตุอาหารได้ เป็นการแก้ไขอาการขาดธาตุอาหารพืชทางอ้อม
การจัดการดินที่เหมาะสมบางวิธี ช่วยให้ธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีอยู่ในดิน หรือโดยการใส่ปุ๋ยเป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น เช่น วิธีการต่างๆ ดังนี้
👉 การใส่ปูน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล หินปูนบด โดโลไมท์ เป็นการลดความเป็นกรดของดิน เมื่อดินมี pH ต่ำกว่า 5.0 จำเป็นต้องแก้ไขหรือลดความเป็นกรดของดิน
👉การใส่ยิปซัม มักใช้กับดิรที่มีลักษณะดินทรายหรือดินที่ขาดธาตุแคลเซียม หรือกำมะถัน แต่ pH ใกล้กลางอยู่แล้ว การใช้ยิปซัมมีความเหมาะสมมาก
👉 การใช้วัสดุอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือใช้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
👉 ดินด่าง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยที่ก่อให้เกิดกรด เช่น ปุ๋ยเคมี 21-0-0 แทนการใช้ 46-0-0 เพราะไนโตรเจนสูญหายน้อยกว่า
✅ 2. การใส่ปุ๋ย : การใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน การใส่ปุ๋ยเป็นการแก้ไขการขาดธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิตพืชได้โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลัก
#การใช้ปุ๋ยทางใบ : เป็นวิธีการให้ปุ๋ยแก่พืชอีกวิธีหนึ่งซึ่งมักจะใช้ในกรณีพิเศษ คือ เมื่อพืชไม่สามารถใช้รากดูดใช้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารตามปกติทางดินได้ เนื่องจากความเหมาะสมหรือข้อจำกัดของดิน เช่น ดินเป็นกรดจัด หรือ เป็นด่างมากเกินไป ทำให้พืชดูดใช้ธาตุอาหารได้น้อยมาก จำเป็นต้องเสริมหรือเพิ่มเติมโดยการพ่นปุ๋ยทางลำต้นหรือใบ
#การใช้ปุ๋ยชีวภาพ : หมายถึงการใช้วัสดุอินทรีย์ที่มีเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวออกฤทธิ์ ในการก่อให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อทำให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ต้องการ เช่น ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา ซึ่งเมื่อใส่เชื้อราตัวนี้ลงดินจะเข้าสู่รากพืช ทำให้รากพืชขยายตัวและพัฒนา จะช่วยดูดซับธาตุอาหารฟอสฟอรัสในดินเป็นประโยชน์ในการสร้างการเจริญเติบโตของพืชได้
✅ 3. การใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสม
พืชแต่ละชนิดมีความทนทานหรืออ่อนไหวต่อสภาพของดินและธาตุอาหารพืชในดินแตกต่างกัน บางครั้งแม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างสายพันธุ์ก็มีความสามารถในการใช้ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินต่ำได้ ไม่เหมือนกัน
ระดับความอ่อนไหวต่อการขาดธาตุอาหารพืช จะช่วยในการวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารพืช ช่วยในการหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมได้ การใช้พันธุ์ต้านทาน หรือ พันธุ์ที่ไม่อ่อนแอต่อการขาดธาตุอาหารนั้น ๆ เป็นการแก้ไขธาตุอาหารพืชหรือเพิ่มผลผลิตพืชได้ทางหนึ่ง
.
ที่มา : เพจ สาระดี ปฐพีวิทยา
กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร (2543)

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น