



-
#การเติมน้ำใต้ดิน เป็นการนำน้ำที่เหลือใช้ในช่วงน้ำท่วมหลากหรือจากน้ำฝนที่ตกลงมา เติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน 

และนำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เป็นการช่วยธรรมชาติฟื้นฟูชั้นน้ำบาดาล แก้ไขปัญหาการลดระดับลงของชั้นน้ำบาดาลให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ช่วยระบายน้ำและลดปริมาณน้ำท่วม




-
วิธีที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลแนะนำให้ใช้กับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ การเติมน้ำผ่านบ่อวงคอนกรีต การเติมน้ำฝนผ่านหลังคาผ่านบ่อวงคอนกรีต และการเติมน้ำผ่านสระ

-
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เริ่มเติมน้ำใต้ดินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 จำนวนทั้งสิ้น 1,530 แห่ง ได้แก่ พื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 500 แห่ง และพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จำนวน 30 แห่ง ส่วนอีก 1,000 แห่ง ดำเนินการในพื้นที่ 64 จังหวัด 396 อำเภอ จำนวน 1,000 ตำบล ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,002 แห่ง 




-
ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการเติมน้ำใต้ดินจะทำให้ระดับน้ำใต้ดินรอบๆ บ่อเติมน้ำค่อยๆ ยกตัวสูงขึ้น และเมื่อมีการก่อสร้างระบบเติมน้ำในพื้นที่กระจายตัวเพิ่มมากขึ้น ระดับน้ำใต้ดินจะยกตัวขึ้นเป็นบริเวณกว้าง เกษตรกรก็จะสามารถสูบน้ำที่กักเก็บไว้ใต้ดิน กลับขึ้นมาใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้ในระยะยาว และในทางกลับกัน เมื่อปริมาณน้ำหลากท่วมในช่วงหน้าฝนถูกระบายลงไปเก็บไว้ในชั้นใต้ดินมากขึ้น ก็จะเป็นการตัดทอนปริมาณน้ำที่ไหลล้นและท่วมในพื้นที่ลงไปได้ จึงเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังได้อีกทางหนึ่ง

-
ในปีงบประมาณ 2564 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีแผนจะดำเนินการเติมน้ำใต้ดินเพิ่มเติมอีก จำนวน 1,000 แห่ง โดยได้รวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเติมน้ำใต้ดินเสนอให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รับทราบแล้ว คาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้เร็วๆ นี้ 


0 ความคิดเห็น